Perimenopause & Menopause

ระยะเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน เป็นช่วงเวลาก่อนวัยหมดประจำเดือน โดยจะกินระยะเวลา 4-5 ปี

Rejuvet Clinic

Rejevet

04/04/2024

Share Promotion :

Perimenopause

ก้าวสู่วัย 40 ระยะเริ่มต้นความการแปรปรวนของระบบฮอร์โมน


ระยะเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน (Perimenopause) เป็นช่วงเวลาก่อนวัยหมดประจำเดือน (Menopause) โดยจะกินระยะเวลา 4-5 ปี ซึ่งฮอร์โมนเริ่มขาดความสมดุล ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนมีการแปรปรวน ส่วนใหญ่เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปและระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนน้อยเกินไป ทำให้เกิดอาการทางร่างกายและจิตใจได้ ดังนี้

อาการทางร่างกาย

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลง เจ็บปวดขณะร่วมเพศ
  • มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • รู้สึกหนาวและร้อนผิดปกติ
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ผิวหนังมีริ้วรอย แห้ง ผมแห้ง
  • มีอาการคันตามผิวหนัง
  • ผมร่วง มีขนตามร่างกายหรือใบหน้าเพิ่มมากขึ้น
  • กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ถ่ายปัสสาวะบ่อย ไอจามมีปัสสาวะเล็ด
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
  • ปวดหลัง ปวดตามข้อและตามกล้ามเนื้อ ร่างกาย
  • ใจสั่น
  • ร่างกายบวมน้ำ
  • เฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอน


อาการทางจิตใจ

  • วิตกกังวล
  • นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท
  • หลงลืมง่าย สมาธิสั้น
  • เหนื่อยง่าย
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ซึมเศร้า ไม่รื่นเริง
  • ไม่ค่อยมีความมั่นใจในการพูดจาหรือลังเลในขณะทำงาน


สัญญาณแรกๆคือการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน ผู้หญิงบางคนอาจมีประจำเดือนมากขึ้นหรือน้อยลง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีประจำเดือนติดกันหรือห่างกันมาก ภาวะก่อนวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกันไป ทังความรุนแรง ระยะเวลาและความถี่ของอาการ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ผู้หญิงทุกคนต้องเผชิญไม่ช้าก็เร็ว

Menopause

วัยทองคืออะไร?

วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ได้หยุดทำงานแล้ว และถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ โดยอายุเฉลี่ยที่ผู้หญิงไทยเข้าสู่วัยทองประมาณ 45-52 ปี

สังเกตอาการ “วัยทอง”

  • อาการร้อนวูบวาบ (hot flush) โดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน เช่น บริเวณหน้า คอ และอก มักเกิดอาการนานประมาณ 1-5 นาที ร่วมกับ อาการอื่น ได้แก่ เหงื่อออก หนาวสั่น วิตกกังวล หรือใจสั่นได้ อาการเหล่านี้อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และการนอนหลับยากขึ้นได้
  • ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อและคันในช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคไขมันในเลือดสูงเพิ่ม โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น เนื่องจากจากการขาดเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่สำคัญในการลดไขมันไม่ดี( LDL)
  • เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • ซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย
  • ผิวหนังเหี่ยวแห้ง และบาง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผล และกระได้ง่าย

วัยทองรักษาได้หรือไม่?

  • การรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน (hormone replacement therapy: HRT) ใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการรุนแรงและไม่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน
  • กลุ่มยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเพศหญิง (non-hormonal treatment) ได้แก่ กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า (antidepressant) เช่น ยากลุ่ม SSRIs และ SNRIs ยากลุ่ม selective estrogen receptor modulators (SERMS) ตัวอย่างยาได้แก่ tamoxifen, raloxifene เป็นต้น ยา tibolone และ androgen เป็นต้น

วิธีดูแลตนเองรับมือกับวัยทอง

1. อาหาร สตรีวัยทองควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับเข้าไปจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ ควรควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดโดยงดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก เป็นต้น

3. ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน

4. ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง
ตรวจเช็คความดันโลหิต
ตรวจเลือดหาระดับไขมัน
ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก
ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography)
ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)
รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง

5. ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม

ผลดีของฮอร์โมนทดแทน
ช่วยรักษาอาการต่างๆ ของภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน อาการที่สำคัญได้แก่ อาการร้อนวูบวาบและลดการสูญเสียมวลกระดูก จึงช่วยป้องกันภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน นอกจากนี้ ยังรักษาอาการช่องคลอดแห้งที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน และช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผลเสียของฮอร์โมนทดแทนที่อาจเกิดขึ้น
อาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด คัดตึงเต้านม น้ำหนักเพิ่ม เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ขาบวม เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดดำอุดตัน และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ในปริมาณที่สูง และใช้ติดต่อกันนาน 10-15 ปี ซึ่งการใช้ฮอร์โมนทดแทนไม่ควรใช้ติดต่อนานเกิน 5 ปี“ผลกระทบหลังการเข้าสู่ภาวะวัยทองจำเป็นต้องหมั่นฟื้นฟูสภาพภายในร่างกายให้แข็งแรง มีพลังงาน จากเซลล์ในร่างกายที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และจากการได้รับยาหรือฮอร์โมนยาวนาน สามารถสอบถามการดูแลฟื้นฟูจากภายในตามแบบแผนตะวันตกได้ที่ นพ.ศิวพล ฐิติยารักษ์ แพทย์เวชศาสตร์ทางเพศและชลอวัย ประจำ Rejuvet clinic

BG Contact Form

REJUVET CLINIC INQUIRIES

เราเป็นแพทย์เฉพาะทาง เรารับฟังเพื่อนำไปพัฒนาแผนการรักษาเฉพาะ สำหรับความต้องการของคุณ หากมีคำถามหรือต้องการขอนัดหมาย โทรหรือกรอกแบบฟอร์ม เราจะรีบตอบกลับโดยเร็วที่สุด